หน้าเว็บ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

กระต่าย/สัตว์ฟันแทะ

ครอบครัวไตรรัตน์ / Trairat Family

สุรพันธุ์  , จรรยา 

พสรัตน์  (วิว)

พสุวงศ์  (วิน)

สวัสดีผู้เข้าเยี่ยมชมทุกท่าน ครอบครัว ไตรรัตน์ นอกจากงานอดิเรกจะชอบปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด และเลี้ยงแมว เควี แฮมสเตอร์ เต่า ปลากัด ปลาแฟนซีคราฟ แล้ว สัตว์เลี้ยงอีกอย่างหนึ่งที่สมาชิกในบ้านนิยมมากก็คือ "กระต่าย"

ทั้งนี้ เริ่มเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ขนยาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และได้มีการหยุดเลี้ยงเป็นช่วงๆ ตามเวลาว่างที่จะจัดหาได้ หลังจากเด็กๆ เลิกเรียน เปียโน ว่ายน้ำ เทนนิส เริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น จึงนำกระต่ายเข้ามาเลี้ยงอีกครั้ง โดยครั้งนี้เริ่มต้นจาก กระต่ายสายพันธุ์ Holland Lop เป็นกระต่ายขนสั้นหูตูบ

ภายหลังเลี้ยงจนประสบความสำเร็จ มีการค้นคว้า ทดลองทำ และสะสมข้อมูลจากผู้ชำนาญการและจากแหล่งต่างๆ มากมาย นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เกิดความสะดวก ประหยัด และง่ายในการปฏิบัติ จึงอยากจะถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจนำไปทดลองเลี้ยงดูบ้าง ดังต่อไปนี้

สัตว์ฟันแทะ Rodent

กระต่าย(rabbit) เควี(cavy) หนู(hamster)

"ข้าวเหนียว"

กระต่ายเพศเมีย อายุ 2 ปี (เกิดกพ.2552) เป็นกระต่ายลูกผสม ฮอลแลนด์-ไทย เลี้ยงมาตั้งแต่ตัวเล็กมาก มีสุขภาพแข็งแรงดี นิสัยรักสงบ กินอาหารได้ทุกชนิด เป็นกระต่ายที่เชื่อง จำเจ้าของได้ จะวิ่งเข้ามาหาให้เอามือลูบหัวและขน ถ้าเกาขนเบาๆจะเคลิ้มหลับตา

เลี้ยงโดยใช้อาหารเม็ดCP(ใส่ในถ้วยอาหารกินได้ทั้งวัน) กับหญ้าขนเป็นหลัก จะให้กินแครอทหรือแกนเม็ดฝรั่งบ้าง(คนกินเนื้อฝรั่ง) อาหารสดให้วันละครั้งหากบางวันไม่มีเวลาจะเว้นบ้างก็ได้

น้ำดื่ม ถ้ากระต่ายหูตั้งนำดื่มสามารถใส่ชามไว้ตลอดเวลา แต่ถ้ากระต่ายหูตูบ(Lop)ต้องใส่ขวดให้เลียกินป้องกัน จมูกและหู เป็นเชื้อรา

อย่าลืมใช้แอลกอฮอล์เช็ดหูด้านในทุกเดือนสำหรับพวกหูตูบ ถ้าคันหรือมีไรในหูให้ซื้อยาหยอดหูมาหยอดในกรงควรใส่แผ่นไม้หรือแผ่นหินไว้ให้กระต่ายลองเล็บ หากเล็บยาวควรตัดแต่งและตะใบให้เรียบร้อย


ข้าวเหนียว กับ ข้าวฟ่าง

ผมชื่อ ข้าวฟ่าง เป็นชื่อที่พี่วินตั้งให้ ผมเป็นกระต่ายสายพันธ์ ฮอลแลนด์ลอบ (Holland Lop) เกิด พย. 2553 ในรูปอายุ 2 เดือน คุณพ่อ พี่วิว พี่วิน พบผมที่สวนจตุจักร ตัวเล็กแข็งแรงชอบวิ่งกินเก่ง คุณพ่อ เลยจ่ายเงินให้เจ้าของเดิมแล้วอุ้มผมกลับบ้าน ผม happy มากครับ......


สบายจังครับนั่งเล่นย่อยอาหารหน้าบ้าน



History of Holland Lop Rabbit

เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง กระต่ายสายพันธุ์ French Lop (doe) (กระต่ายหูตูบ) กับ Natherland Dwarf (buck) (กระต่ายแคระหูตั้ง) โดยชาว เนเธอแลนด์ ชื่อ Mr. Adrian de Cock ลูกผสมที่ได้ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงนำลูกกระต่ายดังกล่าวผสมกับสายพันธุ์English Lop (buck) การพัฒนาสายพันธุ์ เริ่มตั้งแต่ปี คศ.1952 จนถึงปี 1964 จึงได้กระต่าย Holland Lop ขนาด2.5-3กิโลกรัมกระต่ายฮอลแลนด์ ลอป ต้นแบบจึงเกิดขึ้นและได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จาก Netherlands Governing Council หลังจากนั้นได้รับการรับรองจาก American Rabbit Breeders Association ในปี 1979 ปัจจุบันพัฒนาสายพันธุ์จนได้กระต่ายเล็กหูตูบหนักเพียง 1.6 กิโลกรัม

ลักษณะ ของกระต่าย Holland Lop ที่ตรงตามมาตรฐาน

1. ลักษณะหัวต้องกลมโต

2. กล้ามเนื้อหนาแน่นเป็นมัดโดยเฉพาะขาหลัง

3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง

4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โตจะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ

5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก ท้องไม่กางมาก

6. ขาสั้น ขนนุ่มลื่นเดินไม่บิดหรือลากขา

7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่ดูหน้ากว้าง

8. ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็มด้านนอก ใบหูต้องแผ่กว้างยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัว และตัว

9. น้ำหนักตัวตามมาตรฐานในตัวผู้ (buck) 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย(doe) 1.7 ก.ก. และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.

กลุ่มสี ตามมาตรฐาน ARBA กลุ่มอะกูติ Agouti: สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล สีกระรอก (Squirrel) กลุ่มสีขาวแต้ม Broken: สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้ง Pointed White: โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)

กลุ่มสีพื้นSelf : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า

กลุ่มสีเฉดShaded : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ

กลุ่มสีพิเศษTicked : ปลายขนสีน้ำตาล ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก

กลุ่มสีอื่นWide Band : สีที่แตกต่างจากที่กล่าวแล้ว
฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿

CAVY หรือ GUINEA PIG
เพื่อนตัวเล็กอีกชนิดหนึ่งที่ครอบครัวไตรรัตน์เลี้ยงมานานหลายปีคือ เควี่ cavy หรือหนูตะเภาขนยาว ขยายพันธุ์มีลูกหลานหลายตัว จากเดิมเริ่มต้นเลี้ยงเพียง3 ตัว 1.หมั่นโถ เป็นชื่อของ cavy สายพันธ์โคโรเน็ตเพศเมีย 2.หมูแดง เป็นชื่อของ cavy สายพันธุ์เพรูเวี่ยนเพศผู้ 3.หมูกรอบ เป็นชื่อของ cavy สายพันธ์เพรูเวี่ยนเพศผู้